โอนย้ายไถ่ถอนโฉนดและบ้าน
การจัดไฟแนนช์ อีกรูปแบบหนึ่งจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปคือ การนำทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อแลกกับเงินก้อน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบของการรับจดจำนอง ขายฝาก เพราะดูเหมือนว่านิติกรรมทั้งจำนอง ขายฝากนี้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จนคนส่วนใหญ่แยกไม่ออก และทำให้เกิดความสับสน
สำหรับบทความนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับความแตกต่างระหว่างนิติกรรมจำนอง ขายฝาก ที่มักจะพบเห็นได้ในการขอสินเชื่อหรือกู้ยืมเงินโดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ถึงแม้จะดูคล้ายกันในสายตาคนทั่วไป แต่ที่จริงแล้วต่างกันอย่างสิ้นเชิงในทางกฎหมาย
วิธีโอนย้ายไถ่ถอนโฉนดและบ้าน ?
กรณีต้องการโอนย้ายธนาคาร
สำหรับคนที่ยังมีภาระผ่อนบ้านกับธนาคาร สถาบันการเงิน หรือไฟแนนซ์ปัจจุบัน แต่ต้องการโอนย้ายไปธนาคาร สถาบันการเงิน ไฟแนนซ์ใหม่ เช่น ผ่อนชำระที่ธนาการ สถาบันการเงิน ไฟแนนซ์ A. แต่ต้องการโอนย้ายไถ่ถอนจากธนาคาร สถาบันการเงิน ไฟแนนซ์ B. เนื่องจากต้องการเปลี่ยนเพื่อมาใช้สวัสดิการของหน่วยงานกับอีกธนาคาร สถาบันการเงิน ไฟแนนซ์ ใหม่เพื่อให้ได้ดอกเบี้ยถูกลง
ค่าใช้จ่ายในการโอนย้ายไถ่ถอนโฉนดและบ้าน ?
กรณีต้องการโอนย้ายธนาคาร สถาบันการเงิน ไฟแนนซ์ ค่าใช้จ่ายในการโอนย้ายไถ่ถอนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งแต่ละธนาคาร สถาบันการเงิน ไฟแนนช์ อาจจะความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อยู่ที่ประมาณ 100
กว่าบาท และมีค่าจดจำนอง (กับธนาคารใหม่) ซึ่งกฎหมายกำหนด 1% ของมูลค่าที่จำนอง ส่วนค่าอื่น ๆ ไม่มี แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ที่ว่า เป็นการโอนย้ายไถ่ถอนก่อนกำหนดหรือไม่ เพราะปกติ ในสัญญาเงินกู้ธนาคาร สถาบันการเงิน ไฟแนนซ์ จะกำหนดว่าจะต้องผ่อนอย่างน้อยกี่ปี 2-3 ปี ถ้าผ่อนหมดก่อนหรือมาโอนย้ายไถ่ถอนก่อนกำหนด ก็จะมีค่าปรับ อัตราค่าปรับจะอยู่ที่ 2-3% ของจำนวนเงินคงเหลือ
โอนย้ายไถ่ถอนจำนองและโอนย้ายไถ่ถอนขายฝาก ต่างกันอย่างไร ?
หากเปรียบเทียบกันแล้วขั้นตอนหรือค่าธรรมเนียมแล้วอย่างไหนเสียค่าใช้จ่ายมากน้อยอย่างไร ระยะเวลาในการโอนย้ายไถ่ถอนทั้ง 2 ธุรกรรมนี้ใช้เวลานานไหม หลายคนคงสงสัยว่าโฉนดที่ดินก็เป็นของเรา หนี้ก็ชำระหมดแล้ว ทำไมต้องไปจดทะเบียนโอนย้ายไถ่ถอนจำนองหรือโอนย้ายไถ่ถอนขายฝาก ณ สำนักงานที่ดินด้วย บทความนี้จะเปรียบเทียบให้เห็นกันชัด ๆ ระหว่างการโอนย้ายไถ่ถอนจำนองและการโอนย้ายไถ่ถอนขายฝากมีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ตามไปดูกันเลยค่ะ
การโอนย้ายไถ่ถอนจำนอง คืออะไร ?
เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ได้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันในการชำระหนี้ ต่อมาได้ทำการชำระหนี้ที่จำนองไว้เสร็จสิ้นแล้ว ทำให้การจำนองต้องระงับตามผลของกฎหมาย ถึงแม้ว่าไม่ได้จดทะเบียนจำนองก็สามารถใช้บังคับระหว่างผู้จดจำนองและผู้รับจำนองได้ ซึ่งการดำเนินการทำธุรกรรมจำนองที่ถูกต้อง ต้องดำเนินการต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะจดทะเบียนจำนองด้านหลังโฉนดตรงสารบัญจดทะเบียน ว่ามีการจดทะเบียนเมื่อไร ใครเป็นผู้จำนอง และใครเป็นผู้รับจำนอง
เมื่อชำระหนี้หมดแล้ว ต้องไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองเพื่อแก้ไขข้อความให้ปรากฎในเอกสารสิทธิว่าไม่มีการจำนองแล้ว นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง ณ สำนักงานที่ดิน
วิธีการโอนย้ายไถ่ถอนจำนอง มี 2 แบบ คือ
1. ผู้จำนอง และ ผู้รับจำนอง ไปยื่นคำขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน พร้อมกัน
2. ผู้ที่มีสิทธิในที่ดินหรือผู้มีสิทธิไถ่ถอนเพียงฝ่ายเดียว นำหลักฐานที่ผู้รับจำนองได้ทำเป็นหนังสือหรือสลักหลังสัญญาจำนองฉบับผู้รับจำนองว่าได้มีการไถ่ถอนจากจำนองแล้ว ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน
ค่าใช้จ่ายในการโอนย้ายไถ่ถอนจำนอง มีดังนี้
1. ค่าคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท
2. ค่าธรรมเนียม แปลงละ 50 บาท
(กรณีมอบอำนาจ ค่ามอบอำนาจ 20 บาท ต่อ 1 คน)
เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการโอนย้ายไถ่ถอนจำนอง มีอะไรบ้าง ?
1. หลักฐานสัญญาจำนองที่ทำเป็นหนังสือระหว่างผู้จำนอง และ ผู้รับจำนอง หลักฐานว่าได้ทำการชำระสินไถ่แล้วเรียบร้อยและยินยอมให้ไถ่ถอนจำนองได้
2. โฉนดที่ดิน บ้าน คอนโด หนังสือที่แสดงกรรมสิทธิ์
3. บัตรประจำตัวประชาชน
การโอนย้ายไถ่ถอนขายฝาก คืออะไร ?
ผู้ขายฝากได้นำโฉนดที่ดิน บ้าน คอนโด มาทำธุรกรรมกับผู้รับซื้อฝาก ได้ทำสัญญาขายฝากและกำหนดระยะเวลาในการโอนย้ายไถ่ถอนที่ดิน ไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี โดยขั้นตอนการโอนย้ายไถ่ถอนขายฝากคือผู้รับซื้อฝากต้องทำหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ผู้ขายฝากรู้ล่วงหน้า ก่อนครบกำหนดเวลาไถ่ถอนไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน ต้องบอกรายละเอียดวันครบกำหนด จำนวนเงิน สถานที่ และผู้รับไถ่ถอนคืน พร้อมแนบสัญญาขายฝาก ถ้าผู้รับซื้อฝากไม่ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ กำหนดการไถ่ถอนจะถูกขยายออกไป 6 เดือนโดยอัตโนมัติ
วิธีการโอนย้ายไถ่ถอนขายฝากที่ดิน มี 2 แบบ คือ
1. ผู้ขายฝาก และ ผู้รับซื้อฝาก ไปยื่นคำขอจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝากต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน พร้อมกัน
2. ผู้ที่มีสิทธิในที่ดินหรือผู้มีสิทธิไถ่ถอนเพียงฝ่ายเดียว นำหลักฐานที่ผู้รับซื้อฝากได้ทำเป็นหนังสือหรือสลักหลังสัญญาขายฝากฉบับผู้รับซื้อฝากว่าได้มีการชำระสินไถ่ขายฝากแล้ว ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน
ค่าใช้จ่ายในการโอนย้ายไถ่ถอนขายฝาก มีดังนี้
สำหรับค่าธรรมเนียมในการโอนย้ายไถ่ถอนขายฝาก คิดเป็น 1% ของราคาประเมินของสำนักงานที่ดินหรือราคาขายฝาก ซึ่งน้อยกว่าค่าธรรมเนียมทำสัญญาขายฝากและชำระค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาสูงสุดระหว่างราคาประเมินและราคาขายฝากของราคาประเมินของสำนักงานที่ดินหรือราคาขายฝาก ค่าไถ่ถอนโฉนดละ 50 บาท ตามระเบียบของสำนักงานที่ดินกำหนด
เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการโอนย้าบไถ่ถอนจำนอง มีอะไรบ้าง ?
1. คู่สัญญาขายฝาก
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. สำเนาบัตรประชาชน
ดังนั้นการโอนย้ายไถ่ถอนจำนองและโอนย้ายไถ่ถอนขายฝากมีความคล้ายกัน ซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ถูกต้องตามกระบวนของการจำนองและการขายฝาก
หากมีความสนใจในการจำนองและขายฝากที่ดินควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจำนองและขายฝากโดยตรง จะต้องเลือกบริษัทจำนองและขายฝากที่มีความน่าเชื่อถือ มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจำนองและขายฝาก ที่จดทะเบียนถูกต้อง มีที่ตั้งสำนักงานชัดเจน ตรวจสอบได้ บริหารจัดการอย่างมืออาชีพ ดูแลตลอดจนครบกำหนดสัญญา
สำหรับใครที่กำลังมองหาสถาบันการเงินในการขอสินเชื่อ "โอนย้ายไถ่ถอนโฉนดและบ้าน" โฉนดที่ดิน โฉนดที่บ้าน โฉนดที่นา หรือโฉนดประเภทอื่นๆ ให้ CiMF Leasing บริการสินเชื่อโฉนดที่ดินและบ้าน ศูนย์รวมไฟแนนซ์ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีของคุณ เรามีบริการสินเชื่อ "โอนย้ายไถ่ถอนโฉนดและบ้าน” เพื่อให้ลูกค้าสามารถลดภาระค่างวดให้น้อยลง หรือเลือกกู้เพิ่มเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่องทางการเงิน สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ไว้ใจได้
คุณสามารถติดต่อบริการสินเชื่อ "โอนย้ายไถ่ถอนโฉนดและบ้าน" กับ CiMF Leasing บริการสินเชื่อโฉนดและบ้าน ศูนย์รวมไฟแนนช์ ได้ง่ายๆ เพียงกรอกข้อมูลส่วนตัว สมัครสินเชื่อบนเว็บไซต์ หรือ Line@checkincimf ได้เลยครับ