จุดมุ่งหมายในการทำสัญญา ทั้งสัญญา จำนอง และขายฝาก เป็นสัญญาที่นิยมใช้ในการกู้เงิน ระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนี้ โดยมี อสังหาริมทรัพย์ เป็นหลักประกัน
“จำนอง” คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
ส่วน “ขายฝาก” คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนด
ข้อแตกต่างที่สำคัญของสัญญาจำนองกับสัญญาขายฝากที่ควรทราบ
สัญญาจำนอง : กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองไม่โอนไปยังผู้รับจำนอง จึงไม่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้ผู้รับจำนอง แต่สัญญาขายฝาก : กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากโอนไปยังผู้รับซื้อฝาก จึงต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับซื้อฝาก
สัญญาจำนอง :หากไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนองจะฟ้องบังคับจำนอง แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขาย ได้เงินมาชำระหนี้ แต่สัญญาขายฝาก : ผู้ขายฝากต้องมาไถ่ภายในกำหนดเวลาในสัญญา หากไม่มีเงินมาไถ่ภายในกำหนดเวลา กฎหมายกำหนดว่าสามารถขยายเวลาขายฝากได้ กี่ครั้งก็ได้ ครั้งละนานเท่าใดก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 10 ปี หากไม่มีเงินมาไถ่ถอนขายฝาก หรือไม่มาขยายกำหนดเวลาไถ่จากขายฝาก ปล่อยให้ทรัพย์หลุดขายฝาก ทรัพย์นั้นก็จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
สถานที่ทำสัญญา
ทั้งสัญญา จำนอง และขายฝาก ต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่พนักงาน ณ กรมที่ดินเท่านั้น
ในกรณีทำผิดสัญญา
สัญญาจำนอง : หากครบสัญญาแล้ว สามารถจ่ายดอกเบี้ย เพื่อต่อเวลาได้อีกไม่เกิน 5 ปี หรือผู้รับจำนองจะฟ้องศาลเพื่อบังคับจำนอง แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขาย เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ซึ่งระหว่างที่โดนฟ้องบังคับจำนอง ที่ดินนั้นๆ จะไม่สามารถนำมาขายเองได้แล้ว
สัญญาขายฝาก : ลูกหนี้ต้องมาไถ่ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หากเลยกำหนดเวลา ตามกฎหมายสามารถขยายเวลาขายฝากได้ กี่ครั้งก็ได้ ครั้งละนานเท่าใดก็ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี